ท่ามกลางการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจที่ผันแปรไปตามสถานการณ์ต่าง ๆ ได้สร้างความท้าทายใหม่ของธุรกิจ SME โดยการอยู่รอดให้ได้ พร้อมทั้งต้องเติบโตในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจแบบนี้เป็นโจทย์ที่ท้าทายผู้ประกอบการในหลากหลายอุตสาหกรรม แต่จะเริ่มต้นเช่นไร? จะทำอย่างไรนั้น? วันนี้คอลัมน์นี้มีคำแนะนำและแนวทางเรื่องนี้มาให้พิจารณากัน…
สำหรับแนวทางเรื่องนี้เป็นคำแนะนำโดย ดวงพร พรหมอ่อน ผู้บริหารจ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) ที่ได้ออกมาแนะแนวผู้ประกอบการกลุ่ม SME เพื่อไปสู่หนทางรอดจากโลกธุรกิจที่มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วว่า เพื่อจะก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มตัว ผู้ประกอบการจึงอาจจะไม่สามารถใช้แบบแผนการทำธุรกิจแบบเดิม ๆ ได้อีกต่อไป ซึ่งธุรกิจแบบเดิมนั้นมักจะเริ่มต้นจากการสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการขึ้นก่อน แล้วค่อยตามหากลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ซึ่งอาจไม่เหมาะกับโลกธุรกิจยุคดิจิทัลแล้ว และถ้าเช่นนั้นควรต้องทำธุรกิจแบบใดคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง? กับคำถามนี้ ดวงพร แนะนำว่า เพื่อรักษาทรัพยากรและใช้เวลาให้มีประสิทธิภาพ ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญกับการสร้างคุณค่าเป็นหลัก ผ่านแนวคิด สร้าง-วัดผล-เรียนรู้ (Build-Measure-Learn) โดยสำหรับการ “สร้าง” นั้นก็คือการทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายว่าต้องการอะไร เพื่อนำไอเดียมาพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ตอบโจทย์ลูกค้าส่วนการ “วัดผล” ทำได้ด้วยการกำหนดตัวชี้วัดแบบมีหลักการที่ชัดเจน เพื่อเก็บข้อมูลและเรียนรู้พฤติกรรมผู้บริโภค และสุดท้ายคือการ “เรียนรู้” ด้วยการนำข้อมูลที่ได้จากการวัดผลมาวิเคราะห์ เพื่อใช้เป็นแนวทางพัฒนาและเมองหาโอกาสทางธุรกิจ
นอกจากนี้ ยังได้ให้คำแนะนำเพิ่มเติมว่า ผู้ประกอบการถือเป็นแรงบันดาลใจและแรงกระตุ้นสำคัญ ที่จะนำพาองค์กรให้ก้าวต่อไปในยุคที่ธุรกิจเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเมื่อธุรกิจและพนักงานต้องการที่พึ่ง ซึ่งผู้ประกอบการควรเรียนรู้ที่จะปรับเปลี่ยน Mindset ในด้านต่าง ๆ เพื่อให้รับมือกับทุก ๆ สถานการณ์ได้ อาทิ ด้านองค์กร โดยควรติดตามความเคลื่อนไหวของวงการดิจิทัล หรือเทคโนโลยีเสมอ รวมถึงเปิดรับข้อมูลใหม่ ๆ และรู้จักเลือกใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสม, ด้านบุคลากร ด้วยยุคดิจิทัลมีลักษณะและรูปแบบการทำงานเปลี่ยนไป ผู้ประกอบการต้องรู้จักรักษาบุคลากรคุณภาพเอาไว้ รวมถึงพิจารณาเพิ่มความยืดหยุ่นให้พนักงาน เพื่อปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ไม่คาดฝัน และเมื่อถึงเวลามองหาบุคลากรใหม่ ก็ควรต้องยึดหลักการสร้างทีมที่มีประสิทธิภาพ และต้องไม่ลืมตอบแทนพนักงานที่พร้อมฟันฝ่าอุปสรรคต่าง ๆ ไปพร้อมกับองค์กรผ่านค่าตอบแทนกับสวัสดิการที่คุ้มค่าสมเหตุสมผล, ด้านลูกค้า ด้วยการนำความต้องการของลูกค้าเป็นตัวตั้ง เพื่อให้องค์กรรู้จักและเข้าใจความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง จนสามารถนำไปพัฒนาสินค้าและบริการเพื่อสร้างรายได้ หรือนำมาต่อยอดทางธุรกิจได้ พร้อมกับย้ำว่า…
“ถึงแม้ธุรกิจSME หรือ Stratup จะมีข้อจำกัดด้านเงินทุนและทรัพยากรอื่น ๆ แต่ก็สามารถก้าวฝ่าวิกฤตินี้ได้ ด้วยการนำหลัก Lean Startup หรือการทำธุรกิจแบบน้อยแต่มากมาประยุกต์ใช้ โดยให้ความต้องการของลูกค้าเป็นตัวจุดประกาย และอาจเริ่มต้นผลิตจากจำนวนน้อย ๆ เท่าที่จำเป็น ภายใต้งบประมาณที่มี แล้วค่อย ๆ ปรับปรุงพัฒนาไปทีละขั้นอย่างต่อเนื่องก็มีโอกาสที่จะฝ่าวิกฤติ และช่วยให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไปได้” …นี่เป็นคำแนะนำน่าสนใจ ที่ผู้ประกอบการและเอสเอ็มอีสาขาต่าง ๆสามารถนำไปปรับใช้เป็น “คัมภีร์ธุรกิจฝ่าวิกฤติในยุคดิจิทัล”.คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ศิริโรจน์ ศิริแพทย์ [email protected]