ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวในทิศทางแข็งค่าขึ้น หลังกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยในวันศุกร์ว่า การจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 209,000 ตำแหน่งในเดือนมิ.ย. น้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ 225,000 ตำแหน่ง และเป็นการขยายตัวน้อยที่สุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2563 ส่วนอัตราการว่างงานปรับตัวลงสู่ระดับ 3.6% ในเดือนมิ.ย. จากระดับ 3.7% ในเดือนพ.ค. ข้อมูลการจ้างงานที่ต่ำกว่าคาดทำให้ตลาดเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจสหรัฐกำลังชะลอลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งถ่วงดอลลาร์ให้อ่อนค่าและยังเป็นแรงหนุนต่อราคาทองคำให้ปรับขึ้นในช่วงสั้น ๆ นี้
อย่างไรก็ตาม ตลาดยังคงการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนก.ค.นี้ หลังจากตรึงดอกเบี้ยในเดือนมิ.ย. เนื่องจากการขยายตัวของการจ้างงานในสหรัฐยังคงอยู่สูงกว่าอัตราเฉลี่ยในรอบ 10 ปีก่อนเกิดโควิด และตัวเลขค่าจ้างในรายงานดังกล่าวยังคงบ่งชี้เงินเฟ้อที่ปรับตัวขึ้นคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
สำหรับ fund flow เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมานักลงทุนต่างชาติขายสุทธิทั้ง 2 ตลาด โดยขายพันธบัตรสุทธิ 428 ล้านบาท และขายหุ้นไทยสุทธิ 1,503 ล้านบาท
ราคาทองเสาร์-อาทิตย์ ขยับขึ้น 50 บาท เศรษฐกิจสหรัฐชะลอกดดอลลาร์อ่อน
เงินเยนใกล้จบรอบ “อ่อนค่า” คาดไตรมาส 4/66 แบงก์กลางญี่ปุ่นปรับนโยบายการเงิน
ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) แนะนำผู้นำเข้าควรซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า เพื่อปิดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่าในช่วงคืนวันศุกร์ของสัปดาห์ก่อนหน้า เงินบาทพลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง ทดสอบโซน 35.05 บาทต่อดอลลาร์ หลังเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงจากรายงานยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls) ออกมาต่ำกว่าคาด ส่วนราคาทองคำก็รีบาวด์ขึ้นทดสอบโซน 1,940 ดอลลาร์ต่อออนซ์
สัปดาห์ที่ผ่านมา เงินดอลลาร์พลิกกลับมาอ่อนค่าลง หลังยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมสหรัฐฯ (Nonfarm Payrolls) ออกมาต่ำกว่าคาด ทว่าอัตราการเติบโตของค่าจ้างยังคงอยู่ในระดับสูง ทำให้ผู้เล่นในตลาดต่างคงมุมมองว่า เฟดอาจเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อในการประชุมเดือนกรกฎาคมได้
ในสัปดาห์นี้ มองว่ารายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯ ที่จะชี้ชะตาแนวโน้มดอกเบี้ยเฟด พร้อมจับตาสถานการณ์การเมืองไทย (โหวตเลือกนายกฯ) อย่างใกล้ชิด
ไฮไลท์สำคัญที่อาจส่งผลต่อมุมมองผู้เล่นในตลาดต่อทิศทางดอกเบี้ยนโยบายเฟด คือ รายงานข้อมูลอัตราเงินเฟ้อ CPI เดือนมิถุนายน โดยบรรดานักวิเคราะห์ประเมินว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไป CPI อาจชะลอลงสู่ระดับ 3.1% จาก 4% ในเดือนก่อนหน้า ตามการปรับตัวลดลงของราคาพลังงานและผลของฐานราคาสินค้าและบริการที่อยู่ในระดับสูงในปีก่อนหน้า อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน Core CPI ซึ่งเป็นข้อมูลที่เฟดให้ความสำคัญ อาจชะลอลงสู่ระดับ 5% ซึ่งอาจเป็นระดับที่เฟดยังคงกังวลต่อแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อได้
ทั้งนี้ หากอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานชะลอลงมากกว่าคาด เราคาดว่า ผู้เล่นในตลาดอาจเริ่มปรับลดมุมมองต่อแนวโน้มการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมเดือนกรกฎาคม ที่ล่าสุด จาก CME FedWatch Tool ตลาดให้โอกาสถึง 93% ซึ่งในกรณีดังกล่าว ที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานนั้นชะลอลงกว่าคาด เงินดอลลาร์มีโอกาสอ่อนค่าลงได้บ้าง นอกเหนือจากรายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI ผู้เล่นในตลาดจะรอประเมินทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ผ่านรายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยมหาวิทยาลัยมิชิแกน (UofMichigan Consumer Sentiment) เดือนกรกฎาคม รวมถึงรายงานสภาวะเศรษฐกิจและภาคธุรกิจโดยบรรดาเฟดสาขาต่างๆ (Fed Beige Book)
สำหรับ แนวโน้มของค่าเงินบาท เราประเมินว่า ควรระวังความผันผวนจากสถานการณ์การเมืองไทย ซึ่งอาจกระทบต่อทิศทางฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติได้ โดยแม้โมเมนตัมเงินบาทฝั่งอ่อนค่าจะแผ่วลงมากขึ้น แต่หากการโหวตเลือกนายกฯ ยังคงมีความไม่แน่นอนและอาจทำให้การจัดตั้งรัฐบาลยืดเยื้อ นักลงทุนต่างชาติก็อาจขายสินทรัพย์ไทยต่อ กดดันให้เงินบาทอ่อนค่าลงได้
ทั้งนี้ แนวต้านของเงินบาทจะอยู่ในโซน 35.50 บาทต่อดอลลาร์ ขณะที่ แนวรับสำคัญจะอยู่แถว 34.90-35.00 บาทต่อดอลลาร์